การเงินข่าวข่าวภูมิภาคโควิด-19 ประเทศไทย

เช็กเงื่อนไข เยียวยาประกันสังคม นายจ้างลูกจ้าง ม.33 เหตุโควิด

เช็กเงื่อนไข เยียวยาประกันสังคม นายจ้างลูกจ้าง ม.33 เหตุโควิด ในพื้นที่จังหวัดสีแดงเข้ม กรุงเทพและปริมณฑล

รายงานความคืบหน้า มาตรการเยียวยาโควิด เยียวยาประกันสังคมมาตรา 33 ส่วนของนายจ้างและลูกจ้างในพื้นที่สีแดงเข้ม จังหวัดกรุงเทพและปริมณฑล สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า 

ตาม ครม.มีมติเห็นชอบโครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตน มาตรา 33 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (กรุงเทพมหานครและปริมณฑล)
ภายในเงื่อนไข

⁃ ต้องเป็นนายจ้างและผู้ประกันตนในหมวดกิจการ 4 กิจการ คือ

1. กิจการก่อสร้าง

2. กิจการที่พักแรมและบริการด้านอาหาร

3. กิจการศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ

4. กิจการกิจกรรมการบริการด้านอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบ

⁃ ต้องเป็นกิจการที่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร
จำนวนเงินเยียวยาที่จะได้รับ (เงินช่วยเหลือเยียวยาจากรัฐบาล)

⁃ นายจ้างจะได้รับเงินเยียวยาเท่ากับจำนวนผู้ประกันตนที่ขึ้นทะเบียนในสถานประกอบการแต่ให้ได้รับไม่เกิน 200 คน โดยจ่ายในอัตรา 3,000 บาทต่อ ผปต.หนึ่งคน ( ตัวอย่างเช่น 3,000 บาท x จำนวน ผปต.เท่าที่มีจริงและไม่เกิน 200 คน)

⁃ ผู้ประกันตนไทยจะได้รับเงินเยียวยาในอัตรา 2,000 บาทต่อคนและได้รับเพียงครั้งเดียวจากโครงการ

วิธีการรับเงินเยียวยาโควิด ประกันสังคม ม.33

1. นายจ้างนิติบุคคล จ่ายโดยการโอนเข้าบัญชีธนาคาร

2. นายจ้างบุคคลธรรมดา จ่ายโดยการโอนเข้าบัญชีพร้อมเพย์ ที่ผูกบัญชีกับเลขประจำตัวประชาชนเท่านั้น

3.ผู้ประกันตน จ่ายโดยการโอนเข้าบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกบัญชีกับเลขประจำตัวประชาชนเท่านั้น

เยียวยาโควิดประกันสังคม

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ติดตาม The Thaiger บน Google News:

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments

Aindravudh

นักเล่าเรื่อง จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ ผู้สนใจประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง ผนวกกับการเริ่มต้นเส้นทางด้วยการเขียนงานวรรณกรรม ก่อนผันตัวมาเจาะประเด็นข่าวทางสังคม ออนไลน์ ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button
0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x