การเงิน

‘รับแลกเราชนะ’ ฮิตติดเทรนด์ทวิต วิโรจน์ สับเละ คนเตือนรัฐบาลแล้วไม่ฟัง

‘รับแลกเราชนะ’ ฮิตติดเทรนด์ทวิต วิโรจน์ สับเละ คนเตือนรัฐบาลแล้วไม่ฟัง

รับแลกเราชนะ – ช่วงบ่ายวันนี้ 30 มี.ค. 64 หากใครท่องโลกทวิตภพ โซเชียลมีเดีย Twitter จะเห็น #รับแลกเราชนะ  ติดเทรนด์อันดับ 1 ทวิตเตอร์ ซึ่งอย่างที่ทราบกันดีว่า โครงการ ‘เราชนะ’ แจกเงินเยียวยาโควิด 7,000 บาท นั้นไม่สมารถโอนเป็นเงินสดได้ ผู้ได้สิทธิเราชนะต้องใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชั่นเป๋าตัง กับร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการเราชนะ คนละครึ่ง ร้านธงฟ้าเท่านั้น

ด้วยเงื่อนไขนี้เอง ทำให้ประชาชนหลายคนที่ต้องการใช้เงินสด และไม่สะดวกจ่ายสินค้าและบริการกับการกำหนดร้านค้าดังกล่าว ต้องหาวิธีแลกเป็นเงินสด โดยมีคนหัวหมอ รับแลกเราชนะเป็นเงินสด ด้วยการหักค่าหัวคิว ซึ่งคนได้สิทธิเราชนะหลายคนก็ยอม เพราะอยากได้เงินสด แม้ว่าจะได้เงินไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยก็ตาม

แม้ว่าทางกระทรวงการคลัง และรัฐบาลจะออกมาเตือนเป็นระยะแล้วก็ตามว่า การกระทำดังกล่าว เช่น การรับแลกเราชนะเป็นเงินสด หรือการโอนสิทธิเราชนะให้ผู้อื่นเพื่อเอาเงินสด ถือเป็นการทุจริต หากถูกจับได้ จะโดนยึดสิทธิ และมีโทษตามกฎหมาย ทว่าขัดกับความเป็นจริง เรายังพบว่ายังมีการเคลื่อนไหวของกลุ่มรับแลกเราชนะอยู่ เนื่องจากห้ามความต้องการของประชาชนไม่ได้

ต่อเหตุการณ์การติดเทรนด์ทวิตเตอร์ของ #รับแลกเราชนะ ส.ส. วิโรจน์ ลักษณาอดิสร ส.ส. พรรคก้าวไกลได้ออกมาแสดงความคิดเห็นว่า

“แท็ก #รับแลกเราชนะ ที่ติดเทรนด์ สะท้อนว่า การที่รัฐไม่จ่ายเป็นเงินสด ทำให้ประชาชน ที่เดือดร้อนในเรื่องค่าใช้จ่ายที่จ่ายผ่าน App ไม่ได้ ต้องเสี่ยงไปแลกเป็นเงินสด ยอมถูกหักหัวคิว

รัฐก็ควบคุมอะไรไม่ได้

หลายคนเตือนแล้ว ก็ไม่ฟัง สุดท้ายก็ได้แต่ปล่อยให้เหมือนปัญหาสลากเกินราคา”

เมื่อลองสำรวจในแท็กรับแลกเราชนะ ก็พบความเห็นที่หลากหลายของประชาชน ที่สะท้อนว่า เหตุผลที่ #รับแลกเราชนะ ติดเทรนด์ก็เพราะว่าคนส่วนใหญ่ต้องการเงินสดไปใช้จ่ายอย่างอื่นมากกว่า รัฐบาล ทำงานมาตั้งาน เหตุใดถึงไม่เข้าใจประชาชน

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้องกับเราชนะ

ติดตาม The Thaiger บน Google News:

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments

Aindravudh

นักเล่าเรื่อง จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ ผู้สนใจประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง ผนวกกับการเริ่มต้นเส้นทางด้วยการเขียนงานวรรณกรรม ก่อนผันตัวมาเจาะประเด็นข่าวทางสังคม ออนไลน์ ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button
0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x