ผู้ชายผู้หญิงไลฟ์สไตล์

รู้จัก หมุดคณะราษฎร เครื่องทรงจำวันอภิวัฒน์สยาม 86 ปี ประชาธิปไตยไม่เต็มใบ

รู้จัก หมุดคณะราษฎร เครื่องหมายย้ำเตือนความทรงจำการปฏิวัติสยาม สัญลักษณ์ที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์การเมืองไทย จากหมุดคณะราษฎร 2475 เนื่องมาถึง หมุดคณะราษฎร 2563 ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของการเมืองการปกครองโดยใช้รัฐธรรมนูญอย่างไร ร่วมทำความรู้จักและรำลึกถึง เนื่องในโอกาสวันสำคัญเดือนมิถุนายน ครบรอบ 90 ปี 24 มิถุนายน 2475 วันอภิวัฒน์สยาม และ 86 ปีนับจากหมุดคณะราษฎรถูกฝัง

เอ่ยถึงชื่อ คณะราษฎร ย่อมต้องนึกถึงวันอภิวัฒน์สยาม วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และจะไม่พูดถึงไม่ได้เลยสำหรับ หมุดคณะราษฎร สัญลักษณ์สำคัญที่เป็นเครื่องย้ำเตือนวันที่การเมืองการปกครองของสยาม ได้เปลี่ยนจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

จากหมุดคณะราษฎร 2479 สู่หมุดคณะราษฎร 2563 ปัจจุบันหมุดคณะราษฎรและการเมืองไทยอยู่ตรงจุดไหนในแผนที่ ร่วมหาคำตอบไปพร้อม ๆ กับ The Thaiger กันได้เลย

รู้จัก หมุดคณะราษฎร 2479

หมุดคณะราษฎร เป็นหนึ่งในผลงานของกลุ่มคณะราษฎร ทำจากแผ่นทองเหลืองทรงกลมขนาดไม่ใหญ่ที่เปี่ยมด้วยอุดมการณ์ของคณะราษฎรต่อการเปลี่ยนแปลงของประเทศ โดยมีข้อความจารึกไว้ว่า “ณ ที่นี้ 24 มิถุนายน 2475 เวลาย่ำรุ่ง คณะราษฎรได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญ เพื่อความเจริญของชาติ”

โดยหมุดคณะราษฎรดังกล่าวถูกฝังไว้กับพื้นถนนหน้าลานพระบรมรูปทรงม้า พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2479 ในตำแหน่งที่หนึ่งในผู้นำคณะราษฎร พระยาพหลพลพยุหเสนา หรือ พจน์ พหลโยธิน ยืนอ่านประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1 เมื่อช่วงเวลาก่อนพระอาทิตย์ของวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 จะโผล่มาทอแสงบนฟากฟ้า

หมุดคณะราษฎร2479
ภาพจากยูทูบ BRIGHT TV

การเดินทางของหมุดคณะราษฎร 2479

แม้ในปัจจุบันก็ยังคงเป็นที่สงสัยว่าประชาธิปไตยของประเทศไทยนั้น เป็นประชาธิปไตยเต็มใบหรือไม่ เนื่องจากตลอดระยะเวลากว่า 90 ปี นับแต่วันอภิวัฒน์สยาม การเมืองของไทยไม่เคยนิ่ง มีการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญมาแล้วกว่า 20 ฉบับ

โดยในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้มีคำสั่งย้ายหมุดคณะราษฎรออกไปจากจุดที่ถูกฝังไว้ และต่อมาในสมัยที่จอมพล ถนอม กิตติขจร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หมุดคณะราษฎร 2475 ถูกย้ายไปเก็บรักษาไว้ที่สภาผู้แทนราษฎรแทน

และในวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2560 หมุดคณะราษฎรก็ได้หายสาบสูญไปโดยมีใครตอบได้ว่าหมุดนี้หายไปอยู่ที่ใด แต่กลับมีหมุดหน้าใสมาปรากฏอยู่แทนที่โดยอย่างไร้ที่มา โดยมีข้อความบนหมุดที่ถูกอ้างว่าตรงกับคาถาภาษิตในเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์ว่า

“ขอให้ประเทศสยามจงเจริญยั่งยืนตลอดไป ประชาชนสุขสันต์หน้าใส เพื่อเป็นพลังของแผ่นดิน ความนับถือรักใคร่ในพระรัตนตรัยก็ดี ในรัฐของตนก็ดี ในวงศ์ตระกูลของตนก็ดี มีจิตซื่อตรงในพระราชาของตนก็ดี ย่อมเป็นเครื่องคำให้รัฐของตนเจริญยิ่ง”

รู้จัก หมุดคณะราษฎร
ภาพจาก พิพิธภัณฑ์รัฐสภา
รู้จัก หมุดคณะราษฎร
ภาพจาก พิพิธภัณฑ์รัฐสภา

หมุดคณะราษฎร หมุดที่ 2 ของคณะราษฎร 2563

แต่ในที่สุดการพยายามลบประวัติศาสตร์กลับยิ่งทำให้ผู้คนรับรู้การมีอยู่ของมันมากขึ้น ในวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2563 หมุดคณะราษฎรที่ 2 ซึ่งเป็นแผ่นทองเหลืองกลม ลักษณะคล้ายหมุดแรก มีรูปมือชูสามนิ้วอยู่กลางหมุด พร้อมข้อความว่า “20 กันยายน 2563 เวลาย่ำรุ่ง ณ ที่นี้ผองราษฎร์ได้แสดงเจตนารมณ์ ประเทศนี้เป็นของราษฎร ไม่ใช่สมบัติของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง” ได้ถูกฝังลงในพื้นที่ท้องสนามหลวง แต่เพียงไม่ถึง 24 ชั่วโมง กองบัญชาการตำรวจนครบาลก็ได้ออกแถลงว่าเป็นผู้ถอนหมุดออกจากสนามหลวง

ปัจจุบันการต่อสู้ทางการเมืองยังคงดำเนินไปอย่างไม่จบสิ้น จนถึงตอนนี้ประเทศไทยต้องพบกับการรัฐประหารมาแล้วกว่า 13 ครั้ง โดยครั้งที่ 13 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 นำโดยคณะรักษาความสงบบแห่งชาติ หรือ คสช. ส่งผลให้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ยึดอำนาจจาก นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล ซึ่งดำรงตำแหน่งรักษาการรัฐบาลสำเร็จ

อนึ่ง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – ปัจจุบัน รวมทั้งหมด 8 ปี โดยที่สถานการณ์บ้านเมืองในประเทศไทยยังคงดำเนินไปอย่างเข้มข้น และไม่รู้ว่าจะไปสิ้นสุดที่ตรงไหน รวมถึงสัญลักษณ์ย้ำเตือนความทรงจำถึงกลุ่มบุคคลที่ลุกขึ้นต่อสู้เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยอย่าง หมุดคณะราษฎร ที่แม้จะเป็นเพียงแผ่นโลหะขนาดไม่ใหญ่มากนัก ก็ยังเปราะบางเกินกว่าจะสามารถตั้งไว้ที่ใดได้

รู้จัก หมุดคณะราษฎร
ภาพจากยูทูบ BRIGHT TV

 

คณะราษฎร 2563
ภาพจากยูทูบ Thai PBS News

อ้างอิงจาก (1) (2)

 

ติดตาม The Thaiger บน Google News:

0 0 votes
Article Rating
Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments

Lalita C.

นักเขียนคอนเทนต์ที่สนใจการรีวิวเรื่องราวต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสาย Lifestyle หรือคอนเทนต์ออนไลน์อื่น ๆ เขียนเล่าเรื่องได้ตั้งแต่ภายในหนึ่งบรรทัดไปจนถึงหน้ากระดาษ โดยเล่าผ่านมุมมองที่น่าสนใจที่คนมักจะมองข้ามไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button
0
Would love your thoughts, please comment.x
()
x